TOYOTA COROLLA

ALL ABOUT : TOYOTA COROLLA

          โตโยต้า โคโรลล่า (Toyota Corolla) เป็นรถยนต์ของบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ จำกัด ที่เป็นรุ่นที่ประสบความสำเร็จในด้านการขายพร้อมกับได้รับความนิยมเป็นอย่างมากและยาวนานที่สุด ในประเทศไทย โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ประเทศไทยได้นำรุ่น โคโรลล่า อัลติส (Corolla Altis) มาทำเป็นรถแท็กซี่กันมาก สำหรับเจ้าโตโยต้า โคโรลล่า (Toyota Corolla) นั้นได้จัดอยู่ในรถขนาดเล็กมาก (Subcompact) กับรูปโฉมที่1-5 และในโฉมที่ 6 จนถึงปัจจุบัน จัดเป็นรถยนต์ในระดับขนาดเล็ก (Compact) โตโยต้า โคโรลล่า มีคู่แข่งทางธุระกิจอยู่หลายแบรนด์ทีเดียวเช่น ฮอนด้า ซีวิค, นิสสัน ทีด้า, เชฟโรเลต ออฟต้าและมิตซูบิชิ แลนเซอร์ ในรุ่นนี้เป้นรถที่ไม่เล็กเกินไปกับการใช้เป็นรถครอบครัว จึงทำให้สามรุ่นนี้เป็นรุ่นที่พบเห็นค่อนข้างบ่อยในท้องถนนประเทศไทย มีวิวัฒนาการตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน มีทั้งหมด 11 โฉม (11Generation) โดยเริ่มจากโฉมล่าสุด

 

 

รีวิวเปิดตัว Toyota Altis 2014

 

โคโรลล่า รุ่นออนิว อัลติส (All New Altis)
 

โฉมที่11 (Generation11) ผลิตขึ้นปีค.ศ.2014-ปัจจุบัน 

          โฉมที่11มีการผลิตและเปิดตัวเมื่อต้นปีค.ศ.2014 ด้วยสโลแกนใหม่ที่ว่า So Excited ทางบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ จำกัดได้มีการปรับปรุงรูปโฉมใหม่ให้มีความทันสมัยมากขึ้น พร้อมทั้งยังมีสีให้เลือกถึง 6 สีได้แก่ 1.สีเงิน 2.สีขาวมุกในรุ่น 1.8ลิตร 3.สีขาวในรุ่น 1.6ลิตร 4.สีดำ 5.สีเทาดำ 6.สีน้ำตาล

มีการจำหน่ายออกเป็นรุ่นย่อยดังนี้

• รุ่น 1.6J MT

• รุ่น 1.6J CNG MT

• รุ่น 1.6E CNG

• รุ่น 1.6G

• รุ่น 1.8E

• รุ่น 1.8S

• รุ่น 1.8G

• รุ่น 1.8V Navi

 

 ทดสอบความปลอดภัยของตัวถังของ Toyota Altis 2014

 

โคโรลล่า รุ่นอัลติส (Altis)
 

โฉมที่10 (Generation10) ผลิตขึ้นในปีค.ศ.2008-2013 

          โฉมที่ 10 นี้ผลิตขึ้นเมื่อปีค.ศ. 2006 แต่ก็ไม่ค่อยได้การตอบรับเท่าไหร่และได้นำมาวางจำหน่ายในประเทศไทยในปีค.ศ. 2008 ได้มีการพัฒนาระบบเกียร์เป็นแบบเกียร์ธรรมดา 5 สปีดและ 6 สปีด ในส่วนของเกียร์อัตโนมัติเป็นแบบใหม่ CVT 4 สปีดและ 7 สปีด สำหรับโฉมนี้ยังมีการผลิตในตัวเครื่องยนต์ดีเซลอยู่เป็นขนาด 1.4 ลิตรมีวงาจำหน่ายแค่บางประเทศเท่านั้นในเครื่องยนต์เบนซิลมีให้เลือกตั้งแต่ขนาด 1.5, 1.6, 1.8 ลิตรจนถึงขนาด 2.4 ลิตรเลยทีเดียว ในโฉมนี้ได้มีการยกเลิกรูปแบบตัวถังออกไปหลายแบบ เหลือแต่ตัวถัง sedan, station wagon 4 ประตูและ hatchback 5 ประตู ในออสเตรเลีย ส่วนตัวโคโรลล่า ลีโม่ ในโฉมนี้ได้มีการผลิตเป็นรุ่น LIMO CNG ซึ่งเป้นรถที่ใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ ตั้งแต่กำเนิดออกจากโรงงานเลยทีเดียว ในโฉมนี้ได้มีการผลิตตัวพิเศษออกมาจำนวน 3 โฉมแต่มีจำนวนจำกัดที่มีการตกแต่งมาให้จากชุดแต่ง TRD ในรุ่น TRD sportive โฉมแรกเป็นเครื่องยนต์ขนาด 1.6 ลิตรและ 1.8 ลิตร ส่วนในโฉมที่ 2 ได้มีการปรับปรุงพัฒนาเครื่องยนต์ให้รองรับกับเชื้อเพลิงที่เป็นเชื้อเพลิงแบบ E85 ได้ตัวโฉมที่ 3เป็นตัวพิเศษสุดคือตัวครบรอบ 50 ปีของบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ จำกัดตกแต่งภายในด้วยสีดำในรุ่นเครื่องยนต์ขนาด 1.8 ลิตรตัว E อีกด้วย

 

โคโรลล่า รุ่นลีโม่ (LIMO)
 

โฉมที่9 (Generation9) ผลิตขึ้นในปีค.ศ.2000-2008 

          โฉมที่9มีการผลิตครั้งแรกในปีค.ศ.2000 และกว่าที่ในโฉมนี้จะเป็นที่นิยมก็ปีค.ศ.2003 จนถึงปัจจุบันและทางบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ จำกัด ได้ตัดสินใจผลิตโคโรลล่า อัลติสในโฉมที่ 9 นี้พร้อมทั้งปรับปรุงขนาดและความสะดวกสบายและส่วนอื่นๆอีก ในโฉมนี้ได้มีการยกเลิกระบบเกียร์อัตโนมัติแบบ 3 สปีดไปพร้อมทั้งตัวถังแบบ coupe 2 ประตูและ liftback 5 ประตู จากนั้นจึงนำเอาตัวถังแบบ van และhatchback 5 ประตูมาผลิตแทนและยังคงมีเครื่องยนต์ที่เป็นดีเซลอยู่แต่เป็นเครื่องยนต์ขนาด 2.2 ลิตรซึ่งไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย ในตัวเครื่องยนต์เบนซิลนั้นมีเครื่องยนต์ขนาด 1.4, 1.5, 1.6 และ1.8 ลิตรอยู่เหมือนเดิม ในโฉมนี้ประเทศไทยมีชื่อเรียกมันว่า โฉมหน้าหมู หรือโฉมตาถั่ว เพราะไฟหน้าของโฉมนี้คล้ายกับ เมล็ดถั่ว ด้วยโฉมนี้เองประเทศไทยได้มีการออกรุ่นใหม่ของ โคโรลล่ามาอีกหนึ่งรุ่นนั่นคือ โคโรลล่า ลีโม่ (Corolla LIMO) แต่ในรุ่นนี้จะมี ออฟชั่น (Options) น้อยกว่าตัว อัลติส และจะไม่มีจำหน่ายให้เป็นรถยนต์ส่วนบุคคล จะมีจำหน่ายเพื่อไปทำเป็นรถแท็กซี่เท่านั้น

 

โคโรลล่ารหัส AE111
 

โฉมที่8 (Generation8) ผลิตขึ้นในปีค.ศ. 1995-2002 

          โฉมที่ 8 นี้ผลิตครั้งแรกในปีค.ศ. 1995 ในโฉมนี้กว่าจะเป็นที่รู้จักแทนตัว โคโรลล่า สามห่วง นั้นก็ในปีค.ศ. 1998 โดยทางบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ จำกัด (Toyota motor CO.LTD) มีการปรับปรุงในโฉมนี้เพื่อให้มีความหลากหลาย เพื่อให้ประสบความสำเร็จเหมือนโฉมสามห่วง ผลการปรับปรุงในโฉม 8 นี้ได้แบ่งแยกออกมาเป็นอีก 2 โฉมนั่นคือ โฉม ตองหนึ่ง ที่มีการผลิตขึ้นในปีค.ศ.1995-1997 และโฉม ไฮทอร์ก ที่เริ่มผลิตในปีค.ศ.1998 และในโฉมไฮทอร์กนี้เองที่ได้รับความนิยมไม่น้อยและซื้อไปทำเป็นรถแท็กซี่มาก ในโฉมไฮทอร์กนี้ยังมีการแตกหน่อออกมาอีก 1 ตัวคือโคโรลล่า อัลติส (Corolla Altis) ซึ่งเป็นที่นิยมในประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน ในโฉมที่ 8 นี้ได้ระงับการผลิตตัวถังแบบ hatchback 5 ประตู, liftback 3 ประตูและ station wagon 4ประตู

 

โคโรลล่ารหัส AE100
 

โฉมที่7 (Generation7) ผลิตขึ้นในปีค.ศ.1991-1997 

          โฉมที่ 7 นี้มีการผลิตครั้งแรกในปีค.ศ.1991 และได้มีการผลิตระบบเกียร์ธรรมดาแบบ 6 สปีดมาควบคู่กับระบบเกียร์ธรรมดาแบบ 5 สปีดและระบบเกียร์อัตโนมัติแบบ 4 สปีดกับแบบ 3 สปีด ในเรื่องของเครื่องยนตืยังมีทั้งระบบดีเซลและเบนซิลเหมือนเดิมในตัวที่เป็นเครื่องยนต์ดีเซลมีขนาด 2.0 ลิตรและในตัวที่เป็นเบนซิลมีเครื่องยนต์ขนาด 1.3, 1.5, 1.6 และขนาด 1.8 ลิตร การเปิดตัวในประเทศไทยของโฉมนี่ ได้สร้างปรากฎการณ์ในการขายอย่างทะลุทะลวงก็ว่าได้กับยอดจอง 10,000 คันอย่างรวดเร็วมาก รูปแบบตัวถังในโฉมนี้มีให้เลือกถึง 6 แบบและมันมีชื่อเรียกกันในประเทศไทยว่า โฉมสามห่วง อันเนื่องมาจากตราสัญลัษณ์วงรีไขว้กันสามวง นั่นเองเพราะก่อนหน้านี้ใช้เป็นตัวอักษรไม่ใช่สัญลักษณ์แบบสามห่วง

 

โคโรลล่ารหัส AE92
 

โฉมที่6 (Generation6) ผลิตขึ้นในปีค.ศ. 1987-1992 

          โฉมที่6 ผลิตขึ้นในปีค.ศ. 1987 เพื่อมาตีตลาดแทนตัวโฉมที่ 5 และในโฉมที่ 6 นี้เองที่โตโยต้า โคโรลล่า ได้เลื่อนขั้นจากรถยนต์ขนาดเล็กมาก (Subcompact) มาเป็นรถยนต์ขนาดเล็ก (Compact) แทน มีการเพิ่มรูปแบบตัวถัง hatchback 5 ประตู ช่วงที่รถโฉมนี้ผลิตออกมาก็ได้มีการพัฒนาระบบเกียร์อัตโนมัติ และในโฉมนี้ยังได้มีการนำระบบเกียร์อัตโนมัติที่มีการพัฒนามาใส่ด้วยที่เป็นแบบ 4 สปีด ส่วนในระบบเกียร์อัตโนมัติแบบ 3 สปีดนั้นก็ยังมีอยู่เช่นกัน เครื่องยนต์ในโฉมนี้มีทั้งระบบเบนซิลและดีเซล ในเครื่องยนต์ที่เป็นเบนซิลมีขนาด 1.3, 1.5 และ1.6 ลิตรและที่เป็นดีเซลมีขนาด 2.0 ลิตรแถมมีระบบขับเคลื่อน 4 ล้อให้เลือกใช้ด้วย ต่อมาโคโรลล่า เลวิน, โคโรลล่า ทรูโน และโคโรลล่า สปรินเตอร์ได้มีการปรับเปลี่ยนระบบขับเคลื่อนมาเป็นระบบขับเคลื่อนล้อหน้าแทน ในโฉมนี้เองที่คนไทยตั้งชื่อให้มันว่าโฉม โดเรม่อน โดยสังเกตุที่ข้างรถจะมีสัญลัษณ์อักษรว่า TWINCAM 16 VALVE ในช่วงท้ายของโฉมนี้ได้มีการนำระบบหัวฉีดมาใช้ ทำให้ประหยัดน้ำมันได้มากกว่าเดิม

โคโรลล่ารหัส AE80
 

โฉมที่5 (Generation5) ผลิตขึ้นในปีค.ศ. 1983-1987 

          โฉมที่5 ผลิตขึ้นครั้งแรกปีค.ศ.1983 เป็นรุ่นแรกของ โตโยต้า โคโรลล่า (Toyota Corolla) ที่ใช้ขับเคลื่อนล้อหน้า รหัสเครื่องยนต์ที่ใช้เป็นรหัส AE80 ยกเว้นตัว โคโรลล่า เลวิน และโคโรลล่า ทรูโน ที่ยังใช้เป็นแบบขับเคลื่อนล้อหลังอยู่ในรหัสตัวถัง AE86 ในโฉมนี้ได้มีการปรับเปลี่ยนตัวถังใหม่ในตัว coupe 2 ประตู, hatchback 3 ประตู, sedan และ station wagon 4 ประตู, liftback 5 ประตู โคโรลล่าในโฉมนี้ได้มีการผลิตรถที่ใช้น้ำมันดีเซลที่มีขนาดเครื่องยนต์ 1.8 ลิตรและตัวที่เป็นเครื่องยนต์แบบเบนซิลในเครื่องยนต์ขนาด 1.3 ลิตรกับ 1.6 ลิตร ในโฉมนี้มีระบบเกียร์ให้เลือก 2 แบบด้วยกันคือ อัตโนมัติ 3 สปีดและเกียร์ธรรมดา 5 สปีด สำหรับโฉมนี้ในประเทศไทยเรียกมันว่า ตัวท้ายตัด โฉฒนี้มีการออกแบบสมรรถนะการขับเคลื่อน ออกเป็น 3 แบบให้เลือกคือ ตัวขับเคลื่อนล้อหน้า, ขับเคลื่อนล้อหลัง และตัวขับเคลื่อน 4 ล้อ

 

โคโรลล่ารหัส KE70
 

โฉมที่4 (Generation4) ผลิตขึ้นเมือปีค.ศ.1979-1983 

          โฉมที่4 ได้มีการผลิตขึ้นในปีค.ศ. 1979 รหัสตัวถัง KE70 ได้มีการเพิ่มความหลากหลายของตัวถัง โดยเพิ่มตัวถัง sedan 2 ประตูและliftback 3 ประตู ได้ระงับตัวถังแบบ coupe 2 ประตู ในส่วนของระบบเกียร์ยังคงเป็นแบบ 4 สปีด มีเครื่องยนต์ถึง 3 ขนาดคือเครื่องยนต์ขนาด 1.3 ลิตร, 1.6 ลิตรและ ขนาด 1.8 ลิตร ในโฉมนี้เป็นรุ่นสุดท้ายของ โคโรลล่า ที่ใช้ขับเคลื่อนล้อหลังอย่างเดียว

 

โคโรลล่ารหัส KE30
 

โฉมที่ 3 (Generation3) ผลิตขึ้นในปีค.ศ.1974-1981 

          โฉมที่3 ได้ผลิตขึ้นครั้งแรกปีค.ศ. 1974 กับรหัสตัวถัว KE30, KE40, KE50 และ KE60 สำหรับในโฉมนี้มีการเพิ่มแบบตัวถังแบบ hardtop coupe 2ประตูเข้ามาให้เป็นตัวเลือกอีก 1 ตัวและในแบบตัวถังเดิมนั้นก็ยังคงมีจำหน่ายเหมือนเดิม ในรูปโฉมนี้เองทำให้มีการพัฒนาระบบเกียร์ขึ้นมาอีกเป็น 4 ระบบมีเกียร์ระบบอัตโนมัติ 2 สปีดและ 3 สปีดและเกียร์ธรรมดาแบบ 4 สปีดกับ 5 สปีดขนาดของเครื่อยนต์มีขนาด 1.2 ลิตรกับ 1.4 ลิตร ต่อมาพอมีการเปิดตัว โคโรลล่า ในโฉมที่ 4 ในปีค.ศ. 1979 ทั่วโลกก็เริ่มทยอยหยุดการสั่ง โคโรลล่าในโฉมที่ 3 และในโฉมนี้จึงหยุดการผลิตในปีค.ศ. 1981

 

โคโรลล่ารหัส KE20
 

โฉมที่2 (Generation2) ผลิตขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1970-1978

          โฉมที่ 2 ได้ผลิตขึ้นครั้งแรกปีค.ศ. 1970 รหัสตัวถัง KE20 เป็นตัว โตโยต้า โคโรลล่า สปรินเตอร์ (Toyota Corolla Sprinter) ได้เพิ่มรูปแบบตัวถังแบบ sedan เข้าไปด้วย มีการเปิดตัวรถรุ่น โคโรลล่า เลวิน (Corolla Levin) และรุ่นโคโรลล่า ทรูโน (Corolla Trueno) พร้อมทั้งนำตัวถังแบบ coupe GT มาใช้ ทางบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ จำกัด มีการประสบความสำเร็จอย่างมากกับรถรุ่นนี้จึงแยกการขายรถ โตโยต้า โคโรลล่า เป็น 2 แบบคือการขายรถโคโรลล่า สปรินเตอร์ กับการขายรถโคโรลล่า เลวินและโคโรลล่า ทรูโน ออกจากกันทั้งยังมีแบบตัวถังให้เลือกใช้หลายแบบเช่น coupe 2ประตู, station wagon 3 ประตูกับ 5 ประตู, sedan 4 ประตูและ van 5 ประตู ขนาดเครื่องยนต์นั้นมีทั้งขนาด 1.2 ลิตร, 1.4 ลิตรและ 1.6 ลิตรให้เลือกใช้กัน โฉมนี้ได้รับความนิยมมาก แม้ทางบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ จำกัดได้เปิดตัว โคโรลล่า โฉมที่ 3 ออกมาแล้วก็ตามในปีค.ศ. 1974 แต่โฉมนี้ก็ถูกสั่งและผลิตต่อเนื่องจนถึงปีค.ศ. 1978 จึงหยุดการผลิต

 

 โคโรลล่ารหัส KE10

 

โฉมที่1 (Generation1) ผลิตขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1966-1970

          โฉมที่1ได้ผลิตขึ้นครั้งแรกเมื่อปีค.ศ. 1966 ด้วยรหัสตัวถัง KE10 ช่วงแรก ผลิตแค่ตัวถังแบบ sedan 2ประตู ในรุ่นตัวถังแบบ sedan 4 ประตู มีการผลิตขึ้นในปีค.ศ. 1967และตัวถัง station wagon 4ประตู เริ่มทำการผลิตขึ้นในปีค.ศ. 1968 พร้อมด้วยรถ coupe 2 ประตูเป็นตัวปิดท้ายรุ่น ตัวรถคูเป้ 2 ประตูนี้ โคโรลล่า ใช้ชื่อว่า โคโรลล่า สปรินเตอร์ (Corolla Sprinter) รหัสตัวถังคือ KE15 และในโฉมนี้มีขนาดเครื่องยนต์ให้เลือก 2 ขนาดคือ เครื่องยนต์ขนาด 1.1 ลิตรและขนาด 1.2 ลิตร ช่วงปีค.ศ. 1969 เป็นต้นไป สมัยนั้นยังไม่เน้นความประหยัดน้ำมันกันเท่าไหร่ และเทคโนโลยียังไม่ก้าวหน้า ระบบเกียร์ใน โตโยต้าโคโรลล่านี้ จึงมีระบบเกียร์ให้เลือก 2 แบบคือ แบบเกียร์ธรรมดา 4 สปีดกับเกียร์อัตโนมัติ 2 สปีด แต่เครื่องยนต์ในสม ยนั้นมีขนาดลูกสูบเล็ก จึงทำให้รถประหยัดน้ำมัน ชดเชยกับเกียร์ที่มีไม่กี่สปีด ในโฉมนี้ได้เลิกผลิตเมื่อปีค.ศ. 1970 เพราะมีการเปิดตัว โตโยต้า โคโรลล่า (Toyota Corolla) โฉมที่ 2 (Generation2)

 

Toyota Corolla รุ่นแรก ได้เผยโฉมเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 1966 หรือย้อนไปเมื่อ 45 ปีที่แล้ว ว่ากันว่าเป็นยุคแห่งประชายนต์นิยม หรือจะเรียนกว่า Motorization ซึ่งกำลังเบ่งบานในประเทศญี่ปุ่น ยุคที่ชาวปลาดิบเริ่มแยกตัวออกมามีขนาดเล็กลงเพียง พ่อ แม่ ลูก ยุคที่พวกเขา เริ่มพอจะมีฐานะที่ดีขึ้นจากเศรษฐกิจ ซึ่งก็กำลังเติบโต จนมองหาสินค้าเพื่อความสะดวกสบาย อันได้แก่ เครื่องปรับอากาศ โทรทัศน์สี และรถยนต์ มาไว้อำนวยความ
สะดวกสบายแก่ครอบครัวมากขึ้นนั้นเอง

Mr.Tatsuo Hasegawa ซึ่งเป็นอดีต Chief Engineer หัวหน้าทีมวิศวกรโครงการพัฒนา Toyota Corolla คนแรก โดยตัวเขาเองตอนนั้นไม่ได้คิดจะสร้างแค่รถยนต์ธรรมดาทั่วๆไป แต่เขาต้องการสร้างรถยนต์ที่ใช้งานสำหรับครอบครัว แต่อยู่ในราคาที่ทุกคนก็ซื้อหามาขับใช้งานได้ และที่สำคัญต้องมีคุณภาพดี โดยที่ต้องไม่ลดคุณภาพไปพร้อมกับการลดต้นทุน ทุกชิ้นส่วนของรถ จะต้องได้คะแนนในการประเมินด้านคุณภาพเกินกว่า 80 คะแนน บางชิ้นจะต้องทำให้ได้ถึง 90 คะแนน จาก เต็ม 100 คะแนน ด้วยซ้ำ

และเมื่อได้เวลาเปิดตัว แต่ในขณะเดียวกัน Nissan Sunny ซึ่งถือได้ว่าเป็นคู่แข่งสำคัญที่ Toyota พยายามจะโค่น มีเครื่องยนต์แค่ 1,000 ซีซี ทำให้ทาง Toyota ตัดสินใจ พัฒนาเครื่องยนต์ K คาร์บิวเรเตอร์ ให้มีความจุกระบอกสูบ เพิ่มขึ้นอีก 100 ซีซี ยังไม่เพียงเท่านั้นเพราะโตโยต้าได้ทุ่มเงินโฆษณาพร้อมคุยว่า "คุณค่าที่มากกว่า 100 ซีซี" ในตอนแรก สื่อมวลชนต่างพากันช็อคตามๆ กันไป ว่า เป้าหมายยอดผลิตในปี 1967 ของ Toyota Corolla รุ่นเดียวจะต้องมากถึง 30,000 คัน ยิ่งไปกว่านั้นพนักงานขายส่วนใหญ่ ก็ยังไม่เข้าใจถึงความหมายของ 100 ซีซี ที่เพิ่มเข้ามาใหม่ ว่าแท้จริงแล้วมันแตกต่างมากน้อยแค่ไหน แต่หลังจากนั้นไม่นาน Toyota Corolla ก็เริ่มมียอดขายที่ดีขึ้น ตีตื้นคู่แข่งสำคัญ แล้วก็แซงหน้า Nissan Sunny ขึ้นไปได้จนกลายเป็นดาวรุ่งดวงใหม่ในวงการรถยนต์ญี่ปุ่น

จนถึงวันนี้ Toyota Corolla ก็ยังคงครองตำแหน่งรถยนต์นั่งยอดนิยม และครองใจผู้คนทั่วโลก ทั้งในด้านยอดขาย รวมทั้งชื่อเสียงที่สั่งสมกันมานาน ในฐานะรถยนต์นั่งส่วนบุคคลขนาดมาตรฐาน คุณภาพระดับโลกยอมรับไม่ว่าจะเป็นในด้านความทนทาน ประโยชน์ใช้สอยต่างๆ สมรรถนะที่ดีเยี่ยมระดับกลางๆ ที่สำคัญประหยัดน้ำมัน การดูแลรักษาทำได้ไม่ยาก และเป็นมิตรกับทั้งสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

สำหรับสถิติที่น่าสนใจนับตั้งแต่เปิดตัว โตโยต้า โคโรลล่า เรียกได้ว่าครองแชมป์รถยนต์ขายดีที่สุดในตลาดญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่องกันมาแล้วถึง 36 ปี เฉพาะยอดขายในประเทศญี่ปุ่นเพียงแห่งเดียวก็กวาดเรียบไป 11 ล้านคัน แต่ความจริง Toyota Corolla ทำยอดผลิต ทั่วโลก ผ่านหลัก 10 ล้านคัน มาตั้งแต่ เดือน มกราคม 1983 แล้ว ปัจจุบันนี้ Corolla ทุกรุ่น ทุกตัวถัง มีจำหน่าย มากกว่า 140 ประเทศในโลก ด้วยยอดขายรวม เกินกว่า 36 ล้านคันทั่วโลกเข้าไปแล้ว เรียกได้ว่า ประเทศ ไหน มี Toyota เข้าไปขายรถยนต์ ประเทศนั้น ต้องมี Toyota Corolla ขายด้วย ตัวเลขเหล่านี้ ยืนยันได้ถึงความไว้วางใจ ของลูกค้าทั่วโลก ที่มีต่อรถยนต์คอมแพกต์รุ่นสำคัญที่สุดและขายดีที่สุดในประวัติศาสตร์ของ Toyota และของวงการรถยนต์ทั่วโลกได้อย่างดียิ่ง เพราะขายดีจนเกินหน้าเกินตา Volkswagen Golf และ Ford Model-T ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น อีก 2 รถยนต์รุ่นขายดีที่สุดของโลก ตั้งแต่เริ่มมียานพาหนะชนิดนี้กันมาเลย

 

ขณะเดียวกันที่ตลาดเมืองไทย T1oyota ก็เริ่มที่จะนำเอา Corolla รุ่นแรกในชื่อ KE10 เข้ามาขายใน แบบสั่งนำเข้าสำเร็จรูปทั้งคันจากโรงงาน Takaoka ที่ประเทศญี่ปุ่น เข้ามาเปิดตัวถึงเมืองไทย เมื่อปี 1966 ถึงปี 1967 ส่วนเจเนอเรชันที่ 2 หรือ KE20 KE25 เปิดตัวในปี 1970 ตามห่างตลาดญี่ปุ่นไม่นานนัก

Corolla เมื่อเข้าสู่ในรุ่นที่ 3 KE30 ก็เริ่มถูกสั่งเข้ามาขึ้นสายการผลิตในเมืองไทยอย่างเป็นทางการ เมื่อปี 1974 จนถึงปี 1975 ณ โรงงานประกอบรถยนต์ซึ่งตั้งอยู๋ที่สำโรง ทำตลาดเรื่อยมา ในฐานะรถยนต์นั่งรุ่นยอดนิยมที่เรียกได้ว่าขายดีที่สุดในเมืองไทยในขณะนั้นอย่างต่อเนื่องมายาวนาน จนถึงรุ่นที่แล้ว เจเนอเรชันที่ 9 ZZE122 อัลติส ที่ย้ายมาขึ้นสายการประกอบที่โรงงานเกตเวย์ ฉะเชิงเทรา ตลอด 44 ปีที่ผ่านมา จำนวนประชากรของโคโรลล่า ในเมืองไทย มียอดขายสะสมมากถึงกว่า 530,000 คันเลยทีเดียว

อย่างไรก็ตามตลาดทางฝั่งอเมริกาเหนือ และอื่นๆทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทย Toyota Corolla ก็ยังคงความนิยมเป็นอย่างมาก เห็นได้จากยอดขายในระดับสูงพอให้ยังคงอยู่รอดได้ในตลาด เพราะกลุ่มลูกค้าที่คิดจะซื้อรถยนต์ C-Segment Compact Class Sedan ยังเป็นกลุ่มลูกค้าหลักในตลาดหลายๆแห่งทั่วโลก

มาดูทางฝั่งของตลาดญี่ปุ่น ความนิยมในรถยนต์ Sedan 4 ประตู ดูเหมือนว่าจะเริ่มลดน้อยถอยลงไปเรื่อยๆ จากการก้าวเข้ามาแทนที่ของรถยนต์กลุ่ม มินิแวน MPV ทั้งหลาย รวมไปถึงการพัฒนาของรถยนต์ รุ่นต่างๆ ทั้งในค่าย Toyota เองหรือจะเป็นคู่แข่งยี่ห้ออื่นๆ ให้มีขนาดตัวถังใหญ่โตขึ้น และมีอรรถประโยชน์ใช้สอย รวมทั้ง สมรรถนะ และความประหยัดน้ำมัน ที่เริ่มเหนือชั้นกว่า Corolla เรื่อยๆ จนทำให้ คุณค่าของ Toyota Corolla ถูกบดบังรัศมีลงไปเรื่อยๆ ทุกขณะ ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่น เริ่มมองไม่ห็นความจำเป็นจะต้องซื้อ Corolla มาใช้งานต่อไป ในเมื่อพวกเขามี รถยนต์ Hybrid อย่าง Prius และยังมีคู่แข่งสำคัญอย่าง Honda Fit/Jazz และค่ายรถยนต์อื่นๆ ในกลุ่มเดียวกัน

Takeshi Yoshida ซึ่งเป็นอดีต Cheif Engineer ของทางค่าย Toyota ที่เคยรับหน้าที่เป็นหัวหน้าโครงการพัฒนารถยนต์ Soluna WISH Matrix/ Voltz / Pontiac Vibe ถึงแม้จะเคยทุ่มทุกความพยายามทั้งหมดเพื่อที่จะแปลงโฉม Toyota Corolla ในรุ่นที่ 9 ภายใต้แนวคิด Corolla ที่ไม่ใช่ Corolla แบบเดิมๆ อีกต่อไป รวมไปถึง การสร้าง Toyota Corolla ให้ออกมา 2 ขนาดความกว้างตัวถัง ทั้งที่เป็นรุ่นมาตรฐาน หน้า-หลังสั้น มีความกว้าง 1,695 มิลลิเมตรโดยใช้ชื่อเรียกว่า Normal Body เฉพาะในตลาดญี่ปุ่น โดยออกวางขายเมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2000 หลังจากนั้นส่งออกในประเทศแถบเอเซียและตะวันออกกลางบางประเทศ กับรุ่นตัวถังกว้าง Wide Body ขายในตลาดเอเซียด้วยชื่อ Toyota Corolla Altis และเปิดตัวในไทย ไปเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2001 ที่ผ่านมา

ต่อมาในปี 2003 โตโยต้าจึงตัดสินใจสร้าง Corolla ในรุ่นที่ 10 ขึ้นมาภายใต้รหัสรุ่น ZZE-150 Series หมายจะใช้เป็นตัวกอบกู้คุณค่าความเป็น Toyota Corolla กลับมาในสายตาของลูกค้าทั่วโลกให้ได้อีกครั้ง

Okudaira-San เข้าร่วมทำงานกับทีม Toyota Motor Corporation ในปี 1979 (Toyota Corolla รุ่นที่ 4 หรือรุ่นทีคนไทยรู้จักกันในชื่อ DX เพิ่งจะเปิดตัว) เมื่อเข้าร่วมงานในช่วง12 ปีแรกที่ Toyota ทางด้านของ Okudaira-san ก็ได้รับมอบหมายแต่บรรดางานออกแบบจิปาถะไปเรื่อยเปื่อยมากมาย ตั้งแต่ใบปัดน้ำฝน จนถึง ระบบ Power Door Locks ของ Lexus LS400 รุ่นแรก หรือ Toyota Celsior ในญี่ปุ่น โดยเขาถูกให้อยู่ในแผนก Body Engineering

หลังจากนั้นปี 1992 Okudaira-San ก็ย้ายไปทำงานที่ Washington D.C. นาน 3 ปีด้วยกัน กับเพื่อร่วมเป็นหนึ่งในทีมงานศึกษาวิจัย ซึ่งแนวโน้มในด้านของการพัฒนาเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยจากการชน รวมทั้งการศึกษาข้อกฎหมายด้านความปลอดภัยในการขนส่งที่กระทรวงคมนาคมของสหรัฐอเมริกา โดยมีการกำหนดขึ้นในช่วงนั้น เพื่อนำมาปรับปรุงจนเป็นโครงสร้างตัวถังนิรภัย GOA (Global Outstanding Assessment) ที่คนไทยคุ้นหูกันดีนั่นเอง

แต่แล้วในปี 1995 Okudaira-San ก็ต้องถูกเรียกตัวกลับมาที่ญี่ปุ่นอีกครั้ง เพื่อมารับงานวางแผนพัฒนาพื้นตัวถังใน (Platform) ใหม่ สำหรับรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหลัง FR (front engine, rear wheel drive) ซึ่งเริ่มจากรุ่น Aristo 2nd Generation ที่แผนก Body Engineering Division 1 ในศูนย์พัฒนายานยนต์ Toyota Development Center 1

หลังจากนั้น ในปี 1999 เมื่อ Aristo รุ่นที่ 2 ออกสู่ตลาดไปแล้ว เขาเองก็ได้รับมอบหมายให้ดูแลโครงการพัฒนา รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยล้อหลัง ซึ่งถือเป็นฝาแฝดร่วม Platform และงานวิศวกรรม อย่าง Toyota Pregres กับ Toyota Brevis ในฐานะผู้จัดการด้านงาน Product Planning ซึ่งหลังจากที่ได้รับมอบหมายให้เป็น Chief Enginneer ของ Sedan รุ่น Brevis ในปี 2001 แล้ว เขาก็ยังย้ายไปอยู่ ศูนย์พัฒนายานยนต์ Toyota Development Center 2 เพื่อรับเป็น Cheif Engineer ให้กับรถยนต์ Sub-Compact Crossover บนพื้นฐานของรถยนต์ขับล้อหน้าขนาดเล็ก อย่าง Toyota IST 2nd Generation (ปัจจุบันขายในสหรัฐฯด้วยชื่อ Scion xA และ Toyota Urban Cruiser ในยุโรป

ในช่วงแรกของการสร้าง Toyota Corolla จำเป็นที่จะต้องสร้างรถรุ่นนี้โดยการเปลี่ยนแนวทางการคิดของตน รวมทั้งการรับฟังมุมมองของลูกค้าเสียใหม่ เพราะในการพัฒนา Toyota Corlla รุ่นก่อนๆ นั้น พวกเขาเองได้ใช้วิธี สร้างรถขึ้นจากพื้นฐานความต้องการของลูกค้าชาวญี่ปุ่นเท่านั้น แล้วค่อย ใส่เทคโนโลยีใหม่ๆ เข้าไปให้กับแต่ละตลาดที่แตกต่างกัน

ขณะเดียวกันทาง Okudaira-San พยายามคิดและมองต่างออกไปจากเดิม โดยเขามองและตั้งเป้าหมายให้ทาง Toyota Corolla ใหม่ ช่วยตอบสนองทุกความต้องการของลูกค้าทั่วโลก เป็นหลัก โดยเริ่มต้นงานด้านการพัฒนาสมรรถนะและการขับขี่ในแถบประเทศทางฝั่งยุโรป ส่วนเรื่องขอการรักษาสิ่งแวดล้อม และการออกแบบให้ง่ายต่อการใช้งานของทุกๆคน ในสหรัฐอเมริกา และเริ่มต้นคำนึงถึงขนาดความสบายในห้องโดยสาร กันตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของโครงการพัฒนารถรุ่นนี้กันเลยทีเดียว

สำหรับสาเหตุที่ Toyota Corolla ขายดีในประเทศญี่ปุ่น อาจจะเป็นเพราะว่าขนาดตัวถัง ถูกและจำกัคความกว้างไว้ไม่ให้เกิน 1,700 มิลลิเมตร ซึ่งจะทำให้ลูกค้าที่ซื้อรถ เสียภาษีในกลุ่ม 5 NUMBERS แต่ในขณะเดียวกัน ขนาดของความกว้างแค่นี้เมื่อลูกค้าที่ไม่ใช่ในญี่ปุ่น เริ่มมองว่ามันค่อนข้างแคบไป เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับคู่แข่งในตลาดฝั่งญี่ปุ่นด้วยกัน แต่ยังโชคดีที่ Toyota มีงบเหลือเยอะพอที่จะสร้างตัวรถออกมา 2 ขนาดความกว้างในเวลาต่อมา สำหรับความต้องการในตลาดที่แตกต่างกัน ผิดกับค่ายอื่น ที่ต้องเลือกไปเลยว่า จะต่อสู้กันแค่ตลาดในญี่ปุ่น และเอเซย หรือว่าจะยกระดับ ไปลุยที่ยุโรปหรืออเมริกาเหนือไปเลย

Toyota ทำตัวถังแยกออกมาเป็น 2 ขนาดความกว้าง ซึ่งถือว่าไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะในสมัยก่อนทาง Toyota ก็เคยใช้วิธีนี้ในการทำตลาด Toyota Camry ในรุ่นปี 1990-1994 ซึ่งช่วงนั้น Toyota Camry ยังคงต้องการยอดขายในญี่ปุ่นอยู่เพราะได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากตัวถังกว้างไม่เกิน 1,700 มิลลิเมตร ทำให้เสียภาษีในพิกัด 5 NUMBER อยู่อย่างไรก็ตาม โดยเฉพาะในตลาดต่างประเทศ ต้องการรถที่มีตัวถังกว้างขึ้น เพื่อให้ Toyota Camry ซึ่งสามารถที่จะไปแข่งขันกับคู่แข่งอย่าง Honda Accord และ Ford Taurus ในตอนนั้นได้ จึงต้องทำเวอร์ชันตัวถังกว้าง WIDE BODY ผลิตในทั้งสหรัฐอเมริกา ที่โรงงาน Kentucky และโรงงานที่ประเทศ Australia ออกขายในตลาดต่างประเทศ ควบคู่กันไปด้วย แล้วก็มีบางส่วนส่งกลับมาขายในญี่ปุ่นเองด้วยชื่อ Scepter แล้วตามด้วย Camry Gracia แต่ ปัจจุบันนี้ Camry ขายดีในสหรัฐอเมริกา และทั่วโลก มากพอที่จะไม่ต้องแยแสตลาดญี่ปุ่น ซึ่งเปลี่ยนรสนิยม หันไปซื้อ Minivan กันมากขึ้น Generation ที่ 5 กับ 6 ของ Toyota Camry จึงมีตัวถังเพียงขนาดเดียว เพียงแต่มีหน้าตาต่างกัน 2 เวอร์ชันเท่านั้น คือเวอร์ชันญี่ปุ่น-อเมริกา และ เวอร์ชันออสเตรเลีย-เอเซีย อย่างที่เห็นในบ้านเรา ซึ่งทั้งหมด ก็เป็น สถานการณ์เดียวกันกับที่กำลังเกิดขึ้นใน Toyota Corolla Altis รุ่นนี้ 

สำหรับในเวอร์ชันที่ทำตลาดประเทศญี่ปุ่นของ Toyota Corolla Axio และในแบบที่เป็น Fielder ถือได้ว่าเป็นรุ่น NORMAL BODY ซึ่งตัวนี้มาพร้อมกับขนาดตัวถังเท่ากันกับรุ่นเดิมทั้ง 2 แบบ โดยมีความยาว 4,410 มิลลิเมตร กว้าง 1,695 มิลลิเมตร สูง 1,460 ถึง 1,470 มิลลิเมตร และระยะฐานล้อ 2,600 มิลลิเมตร

Toyota Camry ในเวอร์ชันตลาดโลก ซึ่งเป็นตัวถังเดียวกันกับ เวอร์ชันที่จำหน่ายในประเทศไทย ที่เรากำลังเริ่มจะพูดถึงกันนับจากนี้ จนจบบทความ ใช้ตัวถังแบบ WIDE BODY หรือมีความกว้างเกินพิกัดรถยนต์ขนาดเล็กของญี่ปุ่นที่ 1,700 มิลลิเมตร นั่นเอง เมื่อมีการขยายความกว้างเรียบร้อยแล้ว ตัวรถของเวอร์ชันไทยจะมีขนาดตัวถัง ยาวขึ้นกว่าเดิม 4,530 เป็น 4,540 มิลลิเมตร กว้างขึ้นจากเดิม 1,710 เป็น 1,760 มิลลิเมตร ถือว่ากว้างที่สุดใน บรรดารถยนต์ C-Segment Compact Class จากฝั่งญี่ปุ่น ความสูงอยู่ที่ 1,490 มิลลิเมตร แต่ยังคงมีระยะฐานล้อเท่ารถรุ่นก่อนที่ 2,600 มิลลิเมตร

มาถึงในยุคปัจจุบัน Toyota Corolla Altis ได้ถูกเผยโฉมครั้งแรกในเมืองไทย บนแท่นหมุน ในงาน Motor Expo เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม ปี 2007 ณ เมืองทองธานี ซึ่งโดยปกติแล้ว เมื่อใดที่ค่าย Toyota เปิดตัว Corolla ในเมืองไทย ต้องได้กระแสความฮือฮา จะเยอะมาก เพราะเป็นรถยนต์ที่ผู้คนเฝ้ารอติดตามดูความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

หลังจากนั้นใน 2009 โตโยต้าก็เอาใจลูกค้าที่มักจะบ่นๆ ว่าอยากได้รุ่น 2.0 ลิตร และเพื่อเป็นการตัดจุดอ่อน ในที่สุดโตโยต้าก็เปิดตัว Corolla Altis 2.0 ลิตร ออกมา เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ปี 2009 มาพร้อมกับเครื่องยนต์ 3ZR-FE 141 แรงม้า (PS)เกียร์อัตโนมัติ 4 จังหวะ Super ECT จัดเต็มกับออพชันเพียบ พร้อมระบบนำทางมาให้ ราคาเริ่มตั้งแต่ 949,000 บาทในรุ่น 2.0 G 1,044,000 บาท ในรุ่น 2.0 V และ 1,184,000 บาท ในรุ่น 2.0 V Navi แต่อย่าไรก็ตาม Toyota ก็ไม่ได้หวังยอดขายจากรุ่นนี้มากนัก เพราะตั้งเป้าไว้แค่เดือนละ 250 คันเท่านั้น ซึ่งก็คงจะได้แถวๆ เป้าหมายไปตามคาดตามด้วยรุ่น 1.6 Advance CNG ติดตั้งก๊าซธรรมชาติอัดมาให้จากโรงงาน แต่ยอดขาย ก็ยังทำได้ดีขึ้นแค่ส่วนหนึ่ง

ทั้งหมดก็คือที่มา ของการปรับโฉม Minorchange ครั้งใหญ่ ตามอายุขัยในตลาด เมื่อ 5 สิงหาคม 2010 ณ โรงแรม พลาซา แอทธินี ถนนวิทยุ ครั้งนี้ Toyota ได้ตัดสินใจสร้างกระแสด้วยการดึง คุณโฬม นักแสดงละครโทรทัศน์จาก วิกช่อง 3 มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ พร้อมกับทำหนังโฆษณาออกมา ได้โดนใจลูกค้ามากๆเพราะแทบทำให้คนที่ไม่รู้เรื่องรถมาก่อน เชื่อสนิทใจว่า มีการเปลี่ยนโฉมใหม่ทั้งคัน ทั้งที่จริงแล้ว เป็นแค่การปรับโฉม Minorchange ครั้งใหญ่ เท่านั้น

เขียนโดย:
เมื่อ: 25 กรกฏาคม 2557 - 18:16

แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook

เครื่องยนต์ยอดนิยมล่าสุด