TOYOTA SOLUNA

ALL ABOUT : TOYOTA SOLUNA

          โตโยต้า วีออส (Toyota Vios) เป็นรถที่ออกแบบมาแทนรถรุ่น โซลูน่า (Soluna) ได้มีการผลิตขึ้นมาในปีค.ศ.2002 จัดเป็นรถนั่งขนาดเล็ก (Subcompact Car) จะนิยมนำมาใช้เป็นรถยนต์ส่วนตัวมากกว่า และมีในบางประเทศนำไปทำเป็นรถแท็กซี่ เช่นประเทศ อินโดนีเซีย แต่ใช้ชื่อต่างจากประเทศไทยเป็นชื่อ โตโยต้า ลิโม่ (Toyota Limo) สำหรับในประเทศไทยตัว โตโยต้า ลิโม่ (Toyota Limo) จะป็นรุ่นโคโรลล่า (Collora)

          โตโยต้า วีออส (Toyota Vios) มีคู่แข่งทางด้านธุรกิจอยู่หลายรุ่นคือ ฮอนด้า ซิตี้และ เชฟโรเลต อาวีโอ ที่มีการออกแบบมาเป็นรถยนต์ที่นั่งขนาดเล็กเหมือนกันและมีราคาที่ถูกด้วยเช่นกัน จึงต้องมีการแข่งขันกันในทางตลาดรถยนต์ขนาดเล็กเป็นอย่างมาก สำหรับ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ จำกัด และโตโยต้า วีออสได้แบ่งออกเป็น 3 โฉม (3 Generation)

 

 ทดสอบความปลอดภัย New Vios

 

โตโยต้าวีออส โฉมที่ 3
 

โฉมที่3 (Generation3) ผลิตในปีค.ศ.2013-ปัจจุบัน         

          โฉมที่ 3 นี้มีการเปิดตัวครั้งแรกในประเทศไทยเป็นประเทศแรกเลยทีเดียวในปีค.ศ.2013 ในสโลว์แกน Have It All ซึ่งในโฉมนี้ได้มีการออกแบบและดีไซด์ใหม่หมดตั้งแต่ภายนอกจนถึงภายในเลยทีเดียว แต่ยังคงเป็นเครื่องยนต์ในรหัสเดิมอยู่นั่นคือ 1NZ-FE ขนาด1.5 ลิตร 109 แรงม้า

           ตลอดระยะเวลา 16 ปีที่อยู่ในตลาดเมืองไทยทั้ง Toyota Soluna และ Toyota Vios ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ด้วยยอดขายสะสมในประเทศไทยเพียงแห่งเดียว รวมทั้ง 3 Generation มากถึง 656,811 คัน (นับถึงเดือนมีนาคม 2013) อีกทั้งยังครองตำแหน่งรถยนต์ที่มียอดขายสูงสุด เป็นอันดับ 1 ในกลุ่มตลาดรถยนต์นั่ง ขนาดเล็ก กลุ่ม B-Segment พิกัดเครื่องยนต์ ไม่เกิน 1,600 ซีซี ของเมืองไทย ติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปีเต็ม ตั้งแต่ปี 2002 ถึง 2012 ไม่เพียงเท่านั้น ตั้งแต่ปี 1999 เป็นต้นมา Toyota Motor Thailand ส่งออก Soluna และ Vios ในแบบรถยนต์สำเร็จรูป ไปยังประเทศในย่าน ASEAN เป็นจำนวนมากถึง 188,761 คัน

 

  เครื่องยนต์รหัส 1NZ-FE   

  

         ถ้าหากจะพูดถึงเจ้าเครื่องยนต์ที่ใช้วางในบอดี้ของ โตโยต้า วีออส (Toyota Vios) ทั้ง 3 โฉมนี้ ล้วนแล้วใช้เครื่องยนต์ตัวเดียวกันทั้งหมดที่เป็นเครื่องยนต์รหัส 1NZ-FE 4สูบแถวเรียง DOHC 16 วาล์ว พร้อมระบบวาล์วแปรผัน VVT-i ความกว้างกระบอกสูบ X ช่วงชัก 75.0x84.7 มิลลิเมตร ปริมาตรกระบอกสูบ 1,497 ซีซี อัตราส่วนกำลังอัด 10.5:1 แรงม้าสูงสุด 109 แรงม้า 80 กิโลวัตต์-เมตรที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 141  นิวตัน-เมตร 14.4 กิโลกรัม-เมตรที่ 4,200 รอบ/นาที

สำหรับ โตโยต้า วีออส มีการแบ่งเป็นรุ่นๆดังนี้

Toyota Vios 1.5 J AT
- เกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด พร้อม Shift lock
- ไฟแสดงการขับขี่แบบประหยัด (Eco Meter)

 

Toyota Vios 1.5 E MT

- เกียร์ธรรมดา 5 สปีด
- ล้ออัลลอย 15 นิ้ว
- แผ่นกันความร้อนใต้ฝากระโปรง
- ที่ปัดน้ำฝน  แบบหน่วงเวลาและปรับตั้งเวลาได้
- วัสดุตกแต่งแผงคอนโซลหน้า  เมทัลลิก
- วัสดุตกแต่งแผงประตู สีดำ หรือ สีเบจ
- วัสดุตกแต่งแผงควบคุมกระจกไฟฟ้า  สีดำ หรือ สีเบจ
- พวงมาลัยพาวเวอร์ไฟฟ้า EPS ปรับสูง – ต่ำได้   ยูรีเทนตกแต่งด้วยแถบสีเงิน
- กระเป๋าหลังเบาะนั่งด้านหน้า  คนขับ + ผู้โดยสาร
- กระจกแต่งหน้าบริเวณแผงบังแดดคู่หน้า  คนขับ
- มือเปิดประตูด้านใน สีดำ หรือ สีเบจ
- สีภายใน  สีดำ หรือ สีเบจ
ไม่มี ไฟแสดงการขับขี่แบบประหยัด (Eco Meter)
- 4 ลำโพง
- กระจกมองข้าง  ปรับด้วยไฟฟ้า
- ไฟเบรกดวงที่สาม
- ระบบเบรก ABS / EBD และระบบเสริมแรงเบรก BA
- ระบบเตือนการโจรกรรม TDS (Theft Deterrent System)

 

Toyota Vios 1.5 E AT

ออปชั่นคล้าย 1.5 E MT  มีเพิ่มมา ดังนี้ 

- เกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด พร้อม Shift lock
- ไฟแสดงการขับขี่แบบประหยัด (Eco Meter)

 

Toyota Vios 1.5 G AT
- ระบบเบรก หน้า / หลัง =  ดิสก์ / ดิสก์
- ไฟหน้า โปรเจคเตอร์
- กระจังหน้า โครเมียม
- คิ้วฝากระโปรงท้าย โครเมียม
- กระจกมองข้างพร้อมไฟเลี้ยว
- กระจกบังลมหน้าแบบกันเสียงรบกวน (Acoustic Glass)
- วัสดุตกแต่งแผงประตู เมทัลลิก
- วัสดุตกแต่งแผ่งควบคุมกระจกไฟฟ้า  เมทัลลิก
- พวงมาลัยพาวเวอร์ไฟฟ้า EPS ปรับสูง – ต่ำได้  หุ้มหนังตกแต่งด้วยแถบสีเงิน
- กระจกแต่งหน้าบริเวณแผงบังแดดคู่หน้า  คนขับ + ผู้โดยสาร
- มือเปิดประตูด้านใน โครเมียม
- จอแสดงผลข้อมูลการขับขี่ (MID)
- ระบบปรับอากาศอัตโนมัติ
- สวิตซ์ควบคุมเครื่องเสียงบนพวงมาลัย
- กระจกมองข้าง ปรับและพับเก็บด้วยไฟฟ้า

 

Toyota Vios 1.5 S AT
- ยาง 195/50 R16
- ล้ออัลลอยรมดำ 16 นิ้ว
- ไฟหน้า โปรเจคเตอร์แบบรมดำ
- กระจังหน้า โครเมียมแบบรมดำ
- คิ้วฝากระโปรงท้าย โครเมียมแบบรมดำ
- มือจับประตูด้านนอก โครเมียม
- วัสดุตกแต่งแผงคอนโซลหน้า เปียโนแบล็ค
- วัสดุตกแต่งแผงประตู เปียโนแบล็ค
- วัสดุเบาะนั่ง เบาะผ้าลายสปอร์ต
- เบาะนั่งคู่หน้าทรงสปอร์ต
- มือเปิดประตูด้านใน เมทัลลิก
- สีภายใน สีดำ
- ระบบ Smart Entry และ Push Start
- มาตรวัดแบบ Analog แบบ Sport
- ไฟตัดหมอกหน้า

 

 โตโยต้าวีออส โฉมที่ 2
 

โฉมที่2 (Generation2) ผลิตขึ้นปีค.ศ.2007-2012       

            ส่วนโฉมที่ 2 ของโตโยต้า วีออส นี้ได้มีการเปิดตัวครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นเมื่อปีค.ศ.2006 และอีกหลายประเทศแต่ใช้ชื่อว่า โตโยต้า เบลต้า จากนั้นได้มีการเปิดตัวในประเทศไทยเมื่อปีค.ศ.2007 ในโฉมนี้ได้มีการปรับเปลี่ยนในส่วนของกันชนหน้ากระจังหน้าและส่วนอื่นๆอีกหลายส่วนยกเว้นแต่เครื่องยนต์ที่ยังใช้เป็นเครื่องยนต์รหัสเดิมคือ 1NZ-FE นั่นเอง

 

โตโยต้าวีออส โฉมที่ 1
 
               
โฉมที่1 (Generation1) ผลิตขึ้นปีค.ศ.2002-2007
     
          ในโฉมแรกของ โตโยต้า วีออส (Toyota Vios) นี้ได้มีการผลิตขึ้นในประเทศไทยที่ โตโยต้าเกตเวย์ กับอีก 2 โรงงานคือที่ประเทศฟิลิปปินส์และประเทศจีน เพื่อส่งออกไปขายยังประเทศต่างๆและในโฉมนี้เครื่องยนต์ที่ใช้วางนั้นเป็นเครื่องยนต์ในรหัส 1NZ-FE ความจุขนาด 1.5 ลิตร ส่วนในประเทศฟิลิปปินส์จะเป็นเครื่องยนต์ในรหัส 2NZ-FE มีขนาดความจุ 1.3 ลิตรและในประเทศจีนเป็นเครื่องยนต์ในรหัส 8A-FE ในตอนเปิดตัวครั้งแรกนั้นยังใช้ชื่อว่า โตโยต้า โซลูนา วีออส (Toyota Soluna Vios) เพื่อแสดงให้รู้ว่านี่คือโฉมใหม่ของ โตโยต้า โซลูน่า โตโยต้า วีออสโฉมนี้ได้มีการผลิตรุ่นพิเศษออกมา 600 คันเท่านั้นเป็นรุ่น โตโยต้า วีออส เทอร์โบ (Toyota Vios Turbo) ที่มีการปรับแต่งมาให้จากสำนักแต่งชื่อดังของญี่ปุ่นคือ TRD หรือ Toyota Racing Development ทำให้ได้แรงม้าเพิ่มขึ้นถึง 143 แรงม้า
 

           สำหรับรุ่นแรกของ Soluna Vios เริ่มต้นจากการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนารถยนต์ขนาดเล็ก เพื่อตลาด Asia โดยพุ่งเป้ามาที่ประเทศไทย ด้วยสาเหตุที่ว่า อัตราการขยายตัวของ เศรษฐกิจในไทย ช่วงนั้น สูงถึง 8 เปอร์เซนต์ ต่อปี ทำให้ประชาชนมีรายได้มากขึ้น เกิดชนชั้นกลางที่มีอำนาจจับจ่ายมากขึ้น ส่งผลให้ยอดขายรถยนต์ สูงขึ้น ดูได้จากยอดขายรวม ปี 1991 สูงถึงประมาณ 268,000 คัน ทำให้โตโยต้าคาดว่า โอกาสที่ยอดขายรถยนต์ในไทยปี 2000 จะพุ่งทะยานถึงระดับ 600,000 คันต่อปี จึงไม่ไกลเกินเอื้อม (เราต้องไม่ลืมว่า ข้อมูลจากการศึกษานี้ มีขึ้นเมื่อปี 1992 ก่อนจะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจทั่วเอเชีย ในปี 1997 จนทำให้ยอดขายรวมของตลาดลดลง และกว่าจะฟื้นตัวกลับมาได้ ต้องใช้เวลาหลังจากนั้น พักใหญ่)

           Toyota Motor ประเทศญี่ปุ่น ได้เริ่มเดินหน้าโครงการพัฒนารถยนต์ราคาประหยัด โดยใช้ชื่อ AFC (AFFORDABLE FAMILY CAR) ในเดือนกุมภาพันธ์ 1993 โดยเลือกให้ประเทศไทย เป็นแม่งานหลักของโครงการนี้ นอกจากนี้ยังให้ Takeshi Yoshida รับหน้าที่เป็น หัวหน้าวิศวกร หรือที่เรียกว่า Chief Engineer ของโครงการนี้ ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนในชีวิตครั้งสำคัญของ Yoshida เพราะเป็นครั้งแรกที่เขาเป็นหัวหน้าทีมวิศวกรดูแลโครงการพัฒนารถยนต์รุ่นใหม่ๆก่อนที่ความสำเร็จจากโครงการนี้ จะเปิดทางให้เขาได้มีโอกาสก้าวขึ้นไปเป็นหัวหน้าวิศวกรดูแลโครงการพัฒนา Corolla ZZE-120 (Corolla Altis รุ่น Brad Pitt ในบ้านเรา) ตามด้วย Toyota Wish ที่โด่งดังในไทย จนถึง Toyota Matrix / Pontiac Vibe ฝาแฝดต่างค่าย ร่วมโครงสร้างวิศวกรรม ที่ชาวอเมริกันนิยมชมชอบอยู่พักใหญ่ อีกด้วย ปัจจุบัน ไปเป็นหนึ่งในผู้บริหารระดับสูงของ Toyota ไปแล้ว)

            ช่วงแรกของการเปิดตัว Soluna ได้รับความนิยมสูงกว่า Honda City คู่แข่งที่เปิดตัวล่วงหน้าไปก่อนถึง 8 เดือน แต่เพียงแค่เปิดตัวไปได้ 3 วัน ใบสั่งจองที่มากมายเป็นประวัติการณ์ ถึง 28,765 ใบ (15,335 ใบในงานเปิดตัว และ 13,430 ใบ จากดีลเลอร์ทั่วประเทศ) ทำลายสถิติ ยอดจอง 3 วัน 10,000 คันของ Honda Civic 3 ประตู ในเดือนสิงหาคม 1993 อย่างราบคาบ ทำให้ Toyota ต้องเพิ่มกำลังการผลิตที่โรงงาน Gateway อย่างเร่งด่วน

 
 
สำหรับตัวนี้เป็นตัวพิเศษที่ผลิตมา 600 คัน
 
 

รูปเครื่องยนต์ 1NZ-FE Turbo 143 แรงม้า

เขียนโดย:
เมื่อ: 25 กรกฏาคม 2557 - 18:22

แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook

เครื่องยนต์ยอดนิยมล่าสุด