มาทำความรู้จักกับเครื่องยนต์ แวงค์เคบ (Wankel) หรือเครื่องยนต์ โรตารี่ (Rotary) ที่จัดอยู่ในกลุ่มเครื่องยนต์แบบสันดาปภายใน (Internal combustion engine) มีการออกแบบให้มีการแปลงผันความดัน (Convert pressure) เป็นการเคลื่อนที่แบบ โรตารี่ (Rotary motion) ซึ่งเครื่องยนต์ โรตารี่ (Rotary) ได้มาจากการทดลองของ ดอกเตอร์ เฟลิกซ์แวงค์เคบ (Dr. Felix Wankel) ชาวเยอรมัน ในปีค.ศ. 1960 อย่าแปลกใจกันนะถ้าคุณไปคุยกับฝรั่งเรื่องเครื่องยนต์ โรตารี่ แล้วพวกเขาไม่รู้จัก เนื่องจากทางแถบยุโรปเค้าเรียกเครื่อง โรตารี่ ว่าเครื่อง แวงค์เคบ (Wankel) ด้วยการที่พวกเขาให้เกียรติต่อ เฟลิกซ์แวงค์เคบ (Felix Wankel) ที่เป็นผู้คิดค้นเครื่องยนต์ โรตารี่ ยังมีอีกอย่างที่ควรรู้คือต้นตำหรับที่แท้จริงของเครื่องยนต์ โรตารี่ นี้ได้มีการวางลงในรถยนต์ของเยอรมันมาก่อนคือ ออดี้ (Audi) นั่นเอง ก่อนที่บริษัท มาสด้า มอเตอร์เซล จำกัด จะขอติดต่อมาใช้วางในรถของบริษัท มาสด้า มอเตอร์เซล จำกัด ซึ่งใช้วางในรถรุ่น R100, RX-2, RX-3, RX-4, Mazda Luce และ RX-7 จะมีดังนี้
12A เป็นเครื่องยนต์ที่ถูกพัฒนามาจากตัว 10A ซึ่งเครื่องยนต์ 12A นี้จะมีกำลังสูงสุด 100 แรงม้า ขนาด 1,100 ซีซี
รหัส 13B-RESi
ท่อไอดีที่ใช้ในเครื่องยนต์ตัวนี้ได้ดัดแปลงมาจากเครื่องยนต์ไอพ่น ระบบสั่งจ่ายน้ำมันด้วยระบบหัวฉีด มีกำลังสูงสุด 135 แรงม้า ขนาด 1,300 ซีซี
รหัส 13B-REW
ในตัวนี้มากับระบบเทอร์โบคู่ (Twin Turbo) และเครื่องยนต์โรตารี่แบบใหม่ มีขุมพลังถึง 200 แรงม้า, 255 แรงม้า, 265 แรงม้า และในตัวท็อป (Top) มีขุมพลังถึง 280 แรงม้า
มารู้จักกับหลักการทำงานของเครื่องยนต์ โรตารี่ (Rotary) หรือ แวงค์เคบ (Wankel)กันนะครับ
ในเครื่องยนต์แบบลูกสูบ จะมีการเผาไหม้ภายในลูกสูบเป็น 4 จังหวะ คือ ดูด อัด ระเบิด และคาย แต่สำหรับเครื่องยนต์แบบโรตารี่นั้น จะมีแรงดันมาจากห้องเผาไหม้ที่อยู่ในเสื้อโรเตอร์ หรือห้องเผาไหม้ (Housing) ซึ่งจะถูกซีลด์ไว้อย่างดี เพื่อไม่ให้มีการไหลรั่วของแก๊สได้ ตัวโรเตอร์จะเทียบได้กับลูกสูบของเครื่องยนต์แบบลูกสูบ โดยโรเตอร์จะหมุนแบบเยื้องศูนย์และจะทำให้ขอบของโรเตอร์สัมผัสกับห้องเผาไหม้ได้ตลอดเวลา สำหรับตัวโรเตอรืนี้ทำให้ห้องเผาไหม้แยกออกเป็น 3 ห้อง ในขณะที่โรเตอรืหมุนอยู่ ในแต่ละห้อง มันจะมีการหดและขยายตัวของแก๊สตลอดเวลา มีการแบ่งจังหวะเผาไหม้เป็น 4 จังหวะ คือ ดูด อัดระเบิด และคายไอเสีย
มาดูส่วนประกอบของเครื่องยนต์โรตารี่กันบ้างดีกว่า
เจ้าเครื่องยนต์ โรตารี่ มีระบบเผาไหม้ และ ระบบฉีดจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง คล้ายกับเครื่องยนต์ลูกสูบ มีส่วนที่สำคัญคือ โรเตอร์ เสื้อโรเตอร์หรือห้องเผาไหม้ (Housing) และเพลาส่งกำลัง
โรเตอร์ (Rotor)
ตัวโรเตอร์นี้ มีส่วนโค้งอยู่ 3หน้า โดยแต่ละหน้าทำหน้าที่คล้ายลูกสูบ มันจึงต้องเซาะเป็นร่องไว้ เพื่อเพิ่มความจุของแก๊ส ให้เกิดการเผาไหม้ได้ดีพอ ตรงจุดปลายของโรเตอร์ เป็นใบมีด เพื่อที่จะใช้เป็นการซีลด์ห้องเผาไหม้ เพื่อไม่ให้เกิดการรั่วไหลของแก๊ส และด้านนอกของโรเตอร์ก็ต้องซีลด์ด้วยแหวนโลหะ ตรงช่องกลางเป็นฟันเกียร์ ซึ่งจะขบเข้ากับเฟืองเกียร์ซึ่งจะทำให้โรเตอร์หมุนได้ในห้องเผาไหม้
เสื้อโรเตอร์หรือห้องเผาไหม้ (Housing)
ส่วนของห้องเผาไหม้จะมีลักษณะดังรูปนี้ ในตัวโรเตอร์แบ่งห้องเผาไหม้ออกเป็น 3 ส่วน ซึ่งในแต่ละส่วนจะทำหน้าที่เผาไหม้ออกเป็น 4 จังหวะคือ 1. ดูด 2. อัด 3. ระเบิด 4. คาย ช่องไอดี และไอเสีย เป็นท่อเปิดอยู่ถายในเสื้อ ไม่ใช้วาล์ว ช่องไอเสีย และช่องไอดีจะต่อโดยตรงกับท่อไอเสีย
เพลาส่งกำลังมีลูกเบี้ยว
หน้าที่ของลูกเบี้ยวทำให้โรเตอร์หมุนออกจากจุดศูนย์กลางอย่างไม่สม่ำเสมอ (มันไม่ได้หมุนเป็นวงกลม) ในภาพนี้จะมีลูกเบี้ยว 2 อัน ซึ่งแสดงว่ามีโรเตอร์อยู่ 2 อัน ลูกเบี้ยวของเครื่องยนต์โรตารี่ มีหน้าที่เหมือนกับเพลาลูกเบี้ยวในเครื่องยนต์ลูกสูบ ในตอนที่โรเตอร์หมุนมันจะมีแรงเยื้องศูนย์กระทำกับลูกเบี้ยวตลอดเวลา ด้วยแรงกดนี้ทำให้เกิดแรงบิด (Torque) และทำให้เพลาหมุน
แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook