CHEVROLET COLORADO

ALL ABOUT : CHEVROLET COLORADO

          Chevrolet เชฟโรเลต มีการก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1911 โดยหลุยส์ เชฟโรเลต (Louis Chevrolet) และ วิลเลี่ยม คราโป ดูแรนท์ (William Crapo Durant) ได้มีการก้าวเข้าสู่ตลาดรถยนต์ในปีค.ศ. 1916 และมีรายได้ไม่น้อยทีเดียวจึงทำให้ ดูแรนท์ (Durant) ขอซื้อหุ้นบริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (General Motors) ในปี ค.ศ 1917 ต่อมา ดูแรนท์ (Durant) ได้เป็นประธานบริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (General Motors) จึงทำให้ เชฟโรเลต (Chevrolet) ได้มาเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท ต่อมาในปีค.ศ. 1963 เชฟโรเลต ได้รับการนิยมจนมีชื่อติด 1 ใน 10 ของรถยนต์ที่มีจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาในยุคนั้น 

 

          บริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด มีการก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2000 เพื่อดำเนินการเป็นผู้จัดสรรรถยนต์ที่ผลิตภายใต้ชื่อทางการค้า เชฟโรเลต ที่จำหน่ายในประเทศไทย ผ่านตัวแทนจำหน่าย ปัจจุบันมีอยู่ 94 รายพร้อมทั้งมีโชว์รูมและศูนย์บริการทุกพื้นที่ 76 จังหวัด และยังมีรถอีกหลายรุ่นทีนำเข้ามาจำหน่าย ต่อมาตัวรุ่น โคโลราโด (Colorado) ได้รับความนิยมมากในตลาดบ้านเรา แบ่งออกเป็น 3 โฉม (3 Generation) เริ่มที่โฉมล่าสุดก่อนเลยล่ะกัน

 

รีวิว เชฟโรเลต โคโลราโด

 

   เชฟโรเลต โคโลราโด (All New Chevrolet Colorado)      
 
รุ่นที่ 3 (Generation3) ผลิตขึ้นปีค.ศ.2012-ปัจจุบัน  
          สำหรับรุ่นนี้ได้มีการดีไซด์ใหม่หมดตั้งแต่หัวจดท้ายเลยทีเดียวรวมทั้งได้ทำการเปิดตัวกับเครื่องยนต์ตัวใหม่เป็นเครื่องยนต์ Doramax มีให้เลือกถึง 2 ขนาดคือ
                    
          เครื่องยนต์ดูราแม็กซ์ (Duramax)  ดีเซล 2.5 ลิตร ระบบคอมมอนเรล 4 สูบ 16 วาล์ว 163 แรงม้า (120 กิโลวัตต์) แรงบิดสูงสุด 380 นิวตันเมตรที่ 2,000 รอบ/นาที และเครื่องยนต์ดูราแม็กซ์ ใหม่ ดีเซล 2.8 ลิตร ระบบคอมมอนเรล 4 สูบ 16 วาล์ว 200 แรงม้า 147 กิโลวัตต์ แรงบิดสูงสุด 500 นิวตันเมตรที่ 2,000 รอบ/นาที (เกียร์อัตโนมัติ) / แรงบิดสูงสุดที่ 440 นิวตันเมตร ที่ 2,000 รอบ/นาที (เกียร์ธรรมดา)

 

 

คลิปเครื่องยนต์ ดูราแม็กซ์ (Duramax)

 

 เครื่องยนต์ 2.5 และ 2.8 Duramax Diesel 
 
       เชฟโรเลต โคโลราโด ตัวตาหวาน
 
รุ่นที่ 2 (Generation2) ผลิตขึ้นปีค.ศ.2008-2011 
          รุ่นนี้ได้ทำการปรับเปลี่ยนรูปโฉมของ โคโรลาโด (Colorado) ให้เข้ากับการตลาดของประเทศไทยและได้มีการตอบรับจากนักเล่นรถกระบะอย่างคับคั่งทีเดียวในตอนนั้นของประเทศไทยส่วนของเครื่องยนต์ยังคงใช้เป็นเครื่องยนต์ในรหัสเดิมแต่มีการปรับปรุงเพิ่มเติมนิดหน่อย 
 
เครื่องยนต์ 4JK1-TC
 
 เชฟโรเลต โคโลราโด โฉมที่ 1
 
รุ่นที่ 1 (Generation1) ผลิตขึ้นปีค.ศ.2004-2007         
          ในรุ่นนี้ที่จำหน่ายในประเทศไทยได้จับมือกับ บริษัทอีซูซุ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด (Isuzu Motor Thailand CO.LTD) เพื่อใช้โครงสร้างพื้นฐานเดียวกับ อีซูซุ ดีแมกซ์ (Isuzu D-MAXแต่ก็มีชิ้นส่วนและรูปทรงที่ต่างกัน โคโลราโด (Colorado) ในบ้านเราจะต่างจากตัวในอเมริกา เนื่องจากบอร์ดี้เป็นคนละแบบกัน เพราะบอร์ดี้ในบ้านเราเล็กกว่แต่รูปทรงคล้ายกันเครื่องยนต์ที่ใช้วางในบอร์ดี้นี้เป็นเครื่องยนต์ของทางค่าย อีซูซุ (Isuzu) ในรหัส 4JH-T3000 cc 120 แรงม้ากับเครื่องยนต์ 4JA1-T2500 cc 79 แรงม้า ที่ยังเป็นเครื่องยนต์แบบไดรเรคอินเจคชั่นอยู่แต่มีเทอร์โบ (TURBO) ต่อมาได้มีการเปลี่ยนเครื่องตัวใหม่วางลงไปแทนที่แต่ก็ยังคงเป็นเครื่องของทางค่าย อีซูซุ (Isuzu) อยู่เป็นเครื่องยนต์รุ่นใหม่เป็นซูเปอร์คอมมอนเรล (Super Commonrail) ในรหัส 4JJ1-TC 3000 cc 146 แรงม้ากับเครื่องยนต์ 4JK1-TC 2500 cc 116 แรงม้า
 
 

รถกระบะจาก Chevrolet หรือที่คนอเมริกันเรียกกันว่า Chevy Truck นั้นได้เริ่มขึ้นตั้งแต่การถือกำเนิดของรถบรรทุกที่เรียกว่า Chevrolet Model-T เมื่อปี 1918 โดยสร้างขึ้นบนเฟรมแชสซีส์ ของรถยนต์นั่ง ก่อนที่จะพัฒนาไปตามยุคสมัย จนกลายมาเป็นรถกระบะ Full Size Truck ตระกูล Silverado จนโด่งดังในปัจจุบัน และยังเป็นที่นิยมในแถบอเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้อีกด้วย แต่สำหรับชื่อรุ่น Colorado นั้น เพิ่งจะเรียกขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2003 ที่ผ่านมานี้เอง หลังจากนั้นอีก 1 ปีถัดมาได้เข้าเปิดตลาดในเมืองไทยเมื่อเดือนมีนาคม 2004 

Chevrolet Colorado ถือว่าอยู่ในตระกูลรถกระบะ Compact Truck (หรือที่ในยุคปัจจุบันควรจะเปลี่ยนมาเรียกว่า Mid-Size Truck) ยุคใหม่ ที่ทาง GM ได้ทำการพัฒนาขึ้น แตกออกมาจากรถกระบะ Full Size Truck ให้ให้มีขนาดเล็กลง เพื่อที่จะสามารถทำตลาดทั่วโลกที่  GM สยายปีกอินทรี เข้าไปตั้งกิจการผลิตและขายรถยนต์ 

ขณะที่ต้นตระกูลของ Colorado นั้น เราอาจจะต้องย้อนประวัติศาสตร์ กลับไปสู่ยุคปลายทศวรรษ 1960 ซึ่งในตอนนั้น GM กำลังมองหาลู่ทางเพื่อที่จะขยายตลาดให้ Chevrolet กลับไปขายยังภูมิภาคเอเซียอีกครั้ง หลังจากที่ก่อนหน้าได้ถอนตัวออกมาจากญี่ปุ่น รวมทั้งอีกหลายประเทศในเอเซีย สาเหตุมาจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ในช่วงทศวรรษ 1940 และจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า Chevrolet จำเป็นต้องมีความสัมพันธ์ กับค่ายรถยนต์ Isuzu Motors คู่แข่งสำคัญจากญี่ปุ่น

Chevrolet สนใจที่จะร่วมลงทุนด้วยการซื้อหุ้นร้อยละ 34.2 ของ Isuzu ในปี 1971 พร้อมแผนยกระดับให้กับ Isuzu ที่จะสามารถเข้าแข่งขันได้ในตลาดโลกได้ โดยนำ รถเก๋งรุ่น Florian ที่สร้างขึ้นในแบบ Body on Frame เหมือนรถกระบะ อันเป็นวิธีการสร้างรถยนต์แบบดั้งเดิมของแทบทุกบริษัท มาหั่นบั้นท้ายออกไป แล้วใส่กระบะเพื่อการบรรทุก ออกขายเมื่อปี 1972 ใช้ชื่อว่า Isuzu Faster ทำตลาดในฐานะรุ่นเปลี่ยนโฉมของ Isuzu Wasp (ซึ่งเป็นการนำ รถเก๋ง Isuzu Bellett มาหั่นบั้นท้าย ดัดแปลงเป็นรถกระบะเหมือนกันนั่นแหละ ผลิตขายตั้งแต่ปี 1963 - 1972)

ขณะเดียวกัน GM ก็เริ่มที่จะมองเห็นช่องว่างทางการตลาด สำหรับลูกค้าที่อยากได้รถกระบะคันเล็กคล่องตัวกับการใช้งานและราคาไม่แพงมาก ในตลาดโลก โดยเฉพาะในแถบประเทศอเมริกาเหนือ จึงซื้อ Isuzu Faster รุ่นแรก (หรือในตลาดโลกใช้ชื่อว่า Isuzu KB) ไปขาย ในบ้านตัวเอง ใช้ชื่อว่า Chevrolet LUV (ย่อมาจาก Light Utility Vehicle) หรือยานยนต์อเนกประสงค์พิกัดเบา นั่นเอง 

จึงไม่แปลกใจเลยว่า Chevrolet LUV ที่เห็นในแต่ละคัน มีหน้าตาละม้ายคล้ายคลึง
ถึงขั้นเหมือนกันชนิดถอดแบบถอดแม่มพิมพ์จากรถกระบะ Isuzu ทุกรุ่นที่เคยทำตลาดในเมืองไทย ก็โปรดไม่ต้องตกใจเพราะข้อเท็จจริงที่คนไทยจำนวนมากไม่เคยรู้มาก่อน ก็คือ GM จับมือกับ Isuzu ร่วมกันทำรถกระบะขนาด Mid-Size Truck ตระกูลนี้ มาตั้งแต่ ปี 1971 แล้ว

หมายความว่า รถกระบะ Isuzu ทุกรุ่นในเมืองไทย ตั้งแต่ Faster มาจนถึง Faster Z เข้าสู่ยุค Faster Z 2500Di จนถึงรุ่น Dragon Power , Dragon Eyes และล่าสุดอย่าง D-Max ซึ่งเพิ่งตกรุ่นไปเมื่อปลายปี 2011 ที่ผ่านมา ทุกรุ่น ต่างล้วนมีเวอร์ชันฝาแฝดคู่ขนาน ภายใต้ชื่อ Chevrolet LUV ทั้งสิ้น! เพียงแต่ ถูกส่ง ไปขายในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง หรือประเทศที่ไม่มีแบรนด์ Isuzu เข้าไปตั้งกิจการ

เมื่อเข้าสู่ปี 2000 ทาง Chevrolet ก็เริ่มมองเห็นถึงความต้องการขอลลูกค้า จึงทำให้พวกเขาอยากพัฒนารถกระบะขนาดเล็กรุ่นใหม่ โดยจะเข้ามาแทน ตระกูล S-10 ที่ทำตลาดอยู่ในแถบอเมริกาเหนือ รวมทั้ง เปิดตลาดรถกระบะในเมืองไทยของเราอีกด้วย และเข้าสู่ตลาดอย่างเต็มตัวในอีก 3 ปีให้หลัง จากนั้น Chevrolet ได้คิดพัฒนารถกระบะขนาดกลางที่มีความต้องการต่อผู้ใช้งาน ทาง GM ได้คิดออกแบบเอกลักษณ์แตกต่างไปจาก Chevrolet LUV ซึ่งเป็นเพียงแค่การนำโลโก้หลักของตน ไปทำการแปะไว้บนกระจังหน้าของรถกระบะ Isuzu เท่านั้น ซึ่งก็ทำให้ทั้ง 2 บริษัทด้านรถยนต์ ทำข้อตกลงร่วมกันในการพัฒนา รถกระบะรุ่นใหม่ขึ้นมา โดยใช้รหัสโครงการนี้ว่า GMT355 โดยจะแบ่งออกเป็น 4 แบบหลัก คือ เวอร์ชันสำหรับ Isuzu ผลิตขายในไทยและทั่วโลกเวอร์ชันมาตรฐานสำหรับ GM เอาไปแปะตรา Chevrolet LUV หรือ Holden ไว้ขายในตลาดส่งออก เวอร์ชัน Colorado สำหรับตลาดอเมริกาเหนือ ซึ่งจะมีตัวถังกว้างกว่า และเครื่องยนต์ใหญ่กว่า เวอร์ชันอื่นๆ และสุดท้ายคือ Colorado เวอร์ชันไทย

Chevrolet ได้ซุ่มพัฒนามารถยนต์อย่างต่อเนื่อง จนในเดือนมีนาคม ปี 2004 Chevrolet ก็จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวรถกระบะในรุ่น Colorado เวอร์ชันที่วางจำหน่ายในเมืองไทย อย่างอลังการ ที่ BEC Tero Hall หลังจากนั้น Chevrolet ได้จัดทริปทดลองขับ เนรมิต เขาบาล ตรงปลายถนนมอเตอร์เวย์ ชลบุรี ให้กลายเป็น Colorado Resort ซึ่งมีมูลค่า กว่าสิบล้านบาทเลยทีเดียว (ใช้วันเดียวแล้วทิ้ง) นอกจากนี้ Chevrolet ยังได้จัดกิจกรรมปิดสนามบินเพชรบูรณ์ เพื่อเปิดตัวรุ่น Chevrolet CommonRail 3.0 ลิตร เมื่อ 11 พฤศจิกายน 2004 รวมทั้งรุ่น G80 Diff Lock ในช่วงเดือน มีนาคม 2006 หลังจากนั้นได้ทำการปรับโฉม Minorchange ในช่วงปี 2008 ตามมาด้วยรุ่นที่ติดตั้งระบบก๊าซ CNG ในเดือนธันวาคม 2009 และได้ขายกันมาเรื่อยๆ มาจนถึงปี 2011 

ต่อให้ GM ตั้งใจทำตลาด ถึงขั้นลงทุนจัดสารพัดกิจกรรม แต่ในความเป็นจริงก็คือ Colorado เวอร์ชันไทยรุ่นแรก มีความแตกต่างจาก Isuzu D-Max รุ่นแรก เพียงแค่ 300 ชิ้นส่วนอะไหล่ ซึ่งรวมทั้ง งานออกแบบด้านหน้าของตัวรถ โดยฝั่งของ GM จะดุดันกว่า เท่านั้น และนั่นจึงเป็นเหตุผลให้ ลูกค้าจำนวนไม่น้อย ยังคงไม่กล้าตัดสินใจเปลี่ยนมาใช้ Chevrolet ทั้งที่ความเป็นจริง การใช้อะไหล่ร่วมกันขนาดนี้ น่าจะเป็นผลดีในเชิงจิตวิทยาด้วยซ้ำ ว่าในอนาคต จะไม่ต้องกังวลเรื่องความแพร่หลายของอะไหล่

ขณะเดียวกันผู้บริโภคส่วนใหญ่ก็ต้องการสิ่งที่ดูแตกต่างกันมากกว่าที่รถทั้ง 2 รุ่น คือต้องมีความแตกต่างให้เห็นมากกว่าแค่การเปลี่ยนชิ้นส่วนตัวถัง รวมทั้งงานออกแบบในด้านหน้า ให้เหมือนกับที่เอามาโฆษณาว่า เป็นรถยนต์ที่ไม่เหมือนกัน เพราะการซื้อรถของลูกค้าชาวไทยนั้น มักไม่ต้องการให้รถที่ตนเลือก ต้องไปพ้องเหมือนกับรถยนต์ที่ตนไม่ได้เลือกซื้อ 

นี้น่าจะเป็นกลยุทธ์แลกเปลี่ยนของผลิตสินค้าที่ช่วยป้อนให้แก่กันหรือ OEM (Original Equipment Manufacturing) อย่างที่ Chevrolet และ Isuzu เคยทำมานั้น และจะได้ผลดีกว่านี้ก็ต่อเมื่อลูกค้า มองเห็นถึงความแตกต่างของรถยนต์ทั้ง 2 ฝ่าย มาก แม้ว่าชิ้นส่วนภายใน จะใช้ทดแทนกันได้มากน้อยแค่ไหนก็ตาม

Chevrolet ก็มีบทเรียนอยู่แล้วจากการที่นำ Isuzu Faster ไปแปะตรา Chevrolet LUV ขายในตลาดแถบอเมริกาเหนือ ในปี 1972 แต่พอจะเอาเข้าจริงๆ กับกลายเป็นว่าตลาดกลุ่มนี้ แม้จะพอมียอดขายเพิ่มเข้ามาให้ชื่นใจบ้างในช่วงแรกๆ แต่สุดท้ายแล้ว ในปัจจุบันนี้ ตลาดรถกระบะ Mid-Size Truck กำลังเริ่มหดตัวลงอยู่ตลอดเวลา อาจเป็นเพราะผู้ผลิตกลัวรถกระบะ Full Size Truck จะขายไม่ได้ ก็เลยงัดกลยุทธ์แคมเปญสารพัดมาล่อใจลูกค้า จนราคารถกระบะใหญ่รุ่นถูกสสุด ใกล้เคียง หรือพอกันกับรถกระบะคันเล็กรุ่นแพงสุด แถมรถกระบะรุ่นใหม่ๆ อัดออพชันและเครื่องยนต์จนเยอะมาก ทำให้ราคา เริ่มแพงกว่ารถเก๋งขนาดเล็ก ซึ่งประหยัดน้ำมันและคล่องตัวสำหรับชีวิตในเมือง ของกลุ่มลูกค้าวัยรุ่นมากกว่า ตอนนี้ Ford เอง ก็ถอน Ranger รุ่นเดิมออกจากตลาดอเมริกาเหนือไปแล้ว เช่นเดียวกับ Chrysler Corp. ที่กำลังจะเลิกผลิต Dodge Dakota คงเหลือผู้เล่นในตลาดกลุ่มนี้ ที่สหรัฐฯ แค่เพียง Chevrolet, Toyota, Nissan, Mazda, Mitsubishi

Chevrolet ในตลาดอเมริกาความสำเร็จผิดกับในประเทศไทยอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเทียบกับตลาดรถกระบะพิกัดเดียวกันนี้ในเมืองไทยกับมียอดขายที่ดีกว่า ยิ่งพอช่วงหลังน้ำท่วมใหญ่ภาคกลางของไทย เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ความต้องการรถกระบยิ่งพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ ชนิดที่ว่าถ้ากำลังการผลิต กลับมาเต็มที่ ได้เมื่อไหร่ ยอดขายน่าจะกระฉูดอย่างแน่นอน

หลังจากที่ Chevrolet Colorado รุ่นแรก ได้ทำการเปิดตัวในเมืองไทยไปเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2006 ที่ผ่านมา ทาง Isuzu Motors ประเทศญี่ปุ่น ออกแถลงข่าว ว่า ได้ร่วมมือกับ Chevrolet ในการจัดตั้งบริษัทร่วมทุน Joint-Venture Company ในชื่อ "LCV Platform Engineering Corporation (LPEC)" ที่เมือง Fujisawa City จังหวัด Kanagawa ประเทศญี่ปุ่น ด้วยทุนจดทะเบียน 100 ล้านเยน โดยมีผู้ถือหุ้น 2 ฝ่ายด้วยกัน คือ Isuzu และ GM ถือหุ้นฝ่ายละ 50% ด้วยวัตถุประสงค์ในการวางแผน จัดการ ร่วมกันพัฒนาพื้นตัวถัง เฟรมแชสซีส์และแพล็ตฟอร์ม สำหรับรถกระบะรุ่นต่อไป (Isuzu D-Max และ Chevrolet Colorado MY2011 นั่นเอง) ซึ่งจะช่วยให้ทั้ง 2 ฝ่ายประหยัดต้นทุนในการพัฒนาแพล็ตฟอร์มรถกระบะรุ่นใหม่ แบบ Integrated Platform ลงไปได้มาก

ถือได้ว่าเป็นการประกาศเริ่มต้นโครงการพัฒนารุ่นเปลี่ยนโฉม Full Model Change ของ Colorado ในเจเนอเรชัน 2 ภายใต้รหัสโครงการ GMI 700 ไปด้วยในตัว และคราวนี้ พวกเขาจะใช้วิธี ร่วมกัน พัฒนา แทนที่จะว่าจ้างให้ Isuzu ป้อนรถกระบะให้ตนเป็นหลัก เหมือนในอดีต

ขณะเดียวกันทางฝั่งของ Chevrolet ได้เริ่มโครงการพัฒนารถกระบะ Colorado ใหม่ ถือเป็น โครงการพัฒนารถยนต์ขนาดยักษ์ที่สุดโครงการหนึ่ง เท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ของพวกเขา พวกเขาไม่เคยทุ่มทุนสร้างมโหฬารบานตะเกียงขนาดนี้มาก่อนแหงละครับ ดูงบประมาณที่พวกเขาใช้ในการเดิมพันครั้งนี้สิ มันมหาศาลถึงกว่า 60,000 ล้านบาท หรือ 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เลยทีเดียว

Chevrolet ใช้เวลาในการพัฒนา Colorado นานถึง 5 ปี ในช่วงปี 2006 - 2011 โดยการรวมตัวของทีมวิศวกรจาก 5 ทวีป ได้แก่(สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ไทย ออสเตรเลีย และบราซิล) ร่วมกันสร้าง Colorado โฉมใหม่ขึ้นมา พร้อมเตรียมทำตลาดกว่า 60 ประเทศ ทั่วโลก

อย่างไรก็ตามกว่าโครงการ GMI700 จะเริ่มขึ้นเป็นรูปเป็นร่างได้ ก็ต้องพบกับปัญหาต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะในช่วงกลางปี 2009 เมื่อ Chevrolet สหรัฐอเมริกา ประกาศเข้าสู่แผนฟื้นฟูกิจการ หรือ Chapter 11 จึงทำให้สารพัดโครงการต่างๆ ต้องหยุดชะงักไปพักใหญ่ในช่วงนั้น รวมไปถึงโครงการ GMI700 ก็ได้รับผลกระทบไปด้วย เพราะบริษัทแม่ ต้องปล่อยให้บริษัทลูกในประเทศไทย อย่าง Chevrolet Thailand ต้องหาแหล่งเงินทุน มาดำเนินโครงการดังกล่าว สำหรับการสร้างโรงงานเครื่องยนต์ กันต่อเอาเอง แต่ก็ยังโชคดี ที่ได้สถาบันการเงินในประเทศไทย หลายแห่งที่มาช่วยสนับสนุนในด้านการเงินไม่เช่นนั้นแล้ว โครงการนี้ ก็คงไม่รอดเป็นแน่ และแผนเริ่มต้นการผลิต SOP (Start on Production) จากเดิมที่เคยอยู่ในช่วงราวๆ ปี 2010 ก็ต้องเลื่อนโครงการออกไป อีก 1 ปี เป็น 2011 แทน

เมื่อ Chevrolet Colorado ได้ถูกเผยโฉมให้เห็นไปแล้วในเมืองไทย แผนต่อไปก็ต้องมีรถยนต์ต้นแบบสำหรับเอาไว้ลุยตลาดในกลุ่มประเทศอเมริกาใต้ Chevrolet คิดที่จะสร้าง รถยนต์ Concept Truck ขึ้นมาอีกคันหนึ่ง โดยการนำ Chevrolet Colorado 4 ประตู แบบ Crew-Cab ไปตกแต่งในสไตล์ Off-Road ดุดันลุยป่าลุยทุ่ง ให้เหมาะกับคนตัวใหญ่ๆ ขับ โดยติดตั้งเครื่องมือนำทางผ่านดาวเทียม GPS รวมทั้งอุปกรณ์อื่นๆ จนดูเป็น ตัวลุยแห่งศตวรรษที่ 21 ออกแสดงต่อเนื่อง เป็นก๊อก 2 ในงาน Buenos Aires International Auto Show ที่ประเทศ Argentina เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2011 ในชื่อ Chevrolet Colorado Rally Concept

ไม่นานนักทาง Chevrolet ก็ได้ปล่อยรถยนต์ต้นแบบคันที่ 3 ออกมา ในแผนการเปิดตัวทั้งหมด เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2011 ในงาน Australian International Motor Show โดยทาง Colorado Crew Cab ได้ถูกปรับแต่งรูปโฉมใหม่ เรียกได้ว่าใกล้เคียงกับเวอร์ชันจำหน่ายจริงมากขึ้น พร้อมกับคำประกาศว่า ในตลาด Oceania (Australia & New Zealand) จะแปะตรายี่ห้อ Holden อันเป็นแบรนด์ของ Chevrolet ที่ชาวออสซี่ คุ้นเคยกัน มาตั้งแต่ทศวรรษ 1940 และใช้ชื่อในการทำตลาดว่า Holden Colorado

และนี่ก็ถือเป็นการเปิดตัวรถยนต์ของ Chevrolet ที่เรียกได้ว่าสิ้นเปลืองงบประมาณในการสร้างรถต้นแบบ เพื่อการสื่อสารการตลาดที่แตกต่างไปตามแต่ละตลาด มากมายครั้งหนึ่ง เท่าที่ Chevrolet เคยทุ่มทุนกับกลุ่มรถกระบะเพื่อการพาณิชย์ แต่แน่ละ Chevrolet ยอมอยู่แล้ว เพราะ Colorado ถือได้ว่าเป็นรถยนต์รุ่นใหม่ที่ต้องเปิดตัวในปีที่ Chevrolet ฉลองวาระครบรอบ 100 ปีพอดี ให้กับแบรนด์ Chevrolet ทั่วโลก นี่คือโอกาสอันดีที่จะวางรากฐานของแบรนด์ Chevy ให้ติดตลาดสากล รวมทั้งเมืองไทย มากกว่าที่เคยมีมา

 
เขียนโดย:
เมื่อ: 31 กรกฏาคม 2557 - 17:09

แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook

เครื่องยนต์ยอดนิยมล่าสุด